วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

00000Auxin เป็นสารที่มีชื่อทางเคมีว่า IAA (Indole Acetic Acid) มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนี้
1. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช
000000จากการทดลองของ WENT พบว่า ถ้าตัดเยื่อหุ้มยอดอ่อนของต้นกล้าข้าวโอ๊ตนำไปวางไว้บนวุ้นที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ สักครู่ และนำชิ้นวุ้นนั้นไปวางบนต้นกล้าอีกต้นที่ตัดเยื่อหุ้มยอดอ่อนออก ผลปรากฎว่า มีการเจริญเติบโตของยอดอ่อนและมีการงอเข้าหาแสง บนยอดต้นกล้าที่ตัดยอดออก จะเห็นว่า ออกซินสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตผ่านวุ้นได้
2. การแบ่งเซลล์
000000ออกซินกระตุ้นการแบ่งเซลล์ให้เกิดการสร้างแคลลัส (Callus) และกระตุ้นการแบ่งเซลล์ที่แคมเบียม
3. การขยายตัวของเซลล์
000000ทำให้เซลล์ของลำต้นอ่อนหรือเยื่อหุ้มยอดอ่อนยืดตัว
4. การเปลี่ยนแปลง (Differentiation)
000000ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับเซลล์และโครงสร้างของพืช เช่น การเกิดเนื้อเยื่อไซเลม การออกดอก การเกิดผล
000000ออกซิน นอกจากจะให้ผลในทางกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช ถ้ามีความเข้มข้นสูงเกินไปจะยับยั้งการเจริญ ส่วนต่างๆ ของพืชจะมีการตอบสนองต่อออกซินได้ในปริมาณที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าใช้ความเข้มข้น 20 ppm (20 ส่วนในล้านส่วน) จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำต้น แต่ความเข้มข้นนี้จะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของตาและของราก
ออกซินหนีแสงและความเข้มข้นพอเหมาะจะกระตุ้นให้มีการยืดเซลล์ทำให้ยอดอ่อนเข้าหาแสง
5. ควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างและกิ่ง
6. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของผลภายหลังที่ได้รับการผสมเกสรแล้ว
7. กระตุ้นให้มีการสร้างราก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการขยายพันธุ์โดยวิธีปักชำและตอน
แหล่งสร้าง Auxin
000000ออกซินสร้างจากเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายยอด (Apical Shoot Meristem) ใบอ่อนและจากแหล่งที่สร้างนี้จะเคลื่อนที่ลงมายังส่วนต่างๆ ของพืช ปัจจุบันมีการผลิตสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนออกซิน เช่น
000000NAD (Naphthalene Acetamide) ใช้ความเข้ม 0.005% จุ่มกิ่งที่จะใช้ปักชำ (ถ้าเป็นกิ่งอ่อนแช่นาน 1-2 ชั่วโมง ถ้าเป็นกิ่งแก่แช่นาน 6-12 ชั่วโมง)
000000NAA (Naphthalene Acetid Acid) ใช้ช่วยเร่งการงอกของรากในกิ่งปักชำและใช้ช่วยในการติดผลของผลไม้บางชนิด พ่นไปที่ช่อดอกของเงาะขณะที่ดอกยังไม่บานพบว่า ช่วยให้ติดผลดี
0000002,4-D (2,4-Dichlorophenexy Acetic Acid) มักนำมาใช้ประโยชน์เป็นยาปราบวัชพืช ถ้าปริมาณความเข้มข้นต่ำจะสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตและช่วยทำให้สีของผลไม้ดีขึ้น

2. จิบเบอเรลลิน (gibberellins) เป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการยืดตัวของเซลล์ (cell elongation) ทำลายการพักตัวของพืช กระตุ้นการออกดอกของพืชบางชนิด และยับยั้งการออกดอกของพืชบางชนิด สารกลุ่มนี้มีทั้งที่พืชสร้างขึ้นเอง และเชื้อราบางชนิดสร้างขึ้น จิบเบอเรลลินที่นิยมนำมาใช้ทางการเกษตร โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จิบเบอเรลลิก แอซิค (gibberellic acid)
3. ไซโตไคนิน (cytokinins) เป็นสารที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ของพืช ชะลอการแก่ชราและกระตุ้นการแตกของตาข้าง พบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเจริญและในเอ็มบริโอ ฮอร์โมนที่พบในพืชได้แก่ ซีอาติน (zeatin)
                         
4. เอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน (ethylene and ethylene releasing compounds) เอทิลีนเป็นก๊าซชนิดหนึ่งและจัดเป็นฮอร์โมนพืช เนื่องจากพืชสร้างขึ้นมาได้ โดยมีผลควบคุมการแก่ชรา การสุก รวมทั้งการออกดอกของพืชบางชนิด และเกี่ยวข้องกับการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล การเหลืองของใบ การงอกของหัวพืช และเมล็ดพืชบางชนิด เอทิลีนจะสร้างมากในส่วนของพืชที่กำลังเข้าสู่ระยะชราภาพ (senescence) เช่น ในผลแก่หรือใบแก่ใกล้หลุดร่วง การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เช่น การบ่มผลไม้ การเร่งการออกดอกของสับปะรด  

                                      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น